วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จริยธรรมในโลกของข้อมูล เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา




   " จริยธรรมในโลกของข้อมูล " คือ คำว่าจริยธรรมเป็นคำที่มีความหมายกว้างแม้กระทั่งในด้าน
คอมพิวเตอร์ ก็มีการกล่าวถึงในเรื่องจริยธรรมเช่นกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงจริยธรรม ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและสารสนเทศประเด็นต่างๆ ตัวอย่างเช่น
  
  " ทรัพย์สินทางปัญญา "  คือ ในกระบวนการผลิตโปรแกรม ระบบปฎิบัติการ รูปภาพ เพลง หรือ หนังสือทรอนิกส์ จำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูง และใช้เวลาในการผลิตยาวนาน แต่เมื่อสิ่งเหล่านี้ปรากฎอยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิจิทัล ผู้ใช้คนอื่นๆสามารถทำซ้ำ และนำไปใช้ได้โดยไม่ได้จ่ายเงินให้กับผู้ผลิตก่อให้เกิดความเสียหานทางธุรกิจกับเจ้าของข้อมูล ผู้ใช้จึงต้องพิจารณาขอบเขตสิทธิ์ที่ตนเองได้รับในข้อมูลดังกล่าว และเป็นการสมควรหรือไม่ที่จะดาวน์โหลดและแจกจ่ายข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้ นอกจากนี้การนำข้อความหรือรูปภาพจากสื่ออินเทอร์เน็ตมาใช้ จะต้องมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลให้ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น การคัดลอกข้อความหรือรูปภาพจากเว็บประกอบในการทำรายงาน โดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มา

อ้างอิงจาก : http://kanlayanee.ac.th/ict/2-5



ขอบคุณภาพจาก http://kanlayanee.ac.th/ict/2-5


เกร็ดความรู้ 
    
ทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

    ลิขสิทธิ์ (copyright )หมายถึง สิทธิ์แต่เพียงเดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใดๆเกี่ยวกับงานที่ตนเองได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิ์ที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปแบบลักษณะใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปใช้ด้วย สำหรับโปรกแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟแวร์ถือเป็นงานที่เข้าข่ายที่มีลิขสิทธ์

  เครื่องหมายการค้า(Trademark) ใช้สัญลักษณ์สากล TM หมายถึงเครื่องหมายที่ให้หรือจะใช้เป็นเครื่องหมายนั้นเกี่ยวกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมาย การค้าของบุคคลอื่น โดยสัญญษลักษณ์อาาจะประกอบไปด้วย ชื่อ ข้อความ วลี สัญลักษณ์ ภาพ งานออกแบบ

 สิทธิบัตร (patent) หมายถึง สิทธิพิเศษที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐิ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้นเช่น การผลิตและจำหน่ายเป็นต้น

 สำหรับการละเมิดสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นการคัดลอก หรือผลิตซ้ำเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาทั้ง 3 ประเภทนี้ ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติ



อ้างอิงจาก  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น